foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
Welcome to Her Li Chuan

การแพทย์แผนจีน

การแพทย์แผนจีน เป็นวิชาการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคโดยการใช้ทฤษฎีตามหลักการทางธรรมชาติของร่างกายมนุษย์
และสิ่งแวดล้อมหลายๆอย่างมาประกอบการร่วมกันวินิจฉัย ซึ่งมีมาหลายพันปี จากหลักฐานที่ค้นพบในคำภีร์ "เน่ยจิง" ของทางการจีน
ได้ระบุว่า การแพทย์จีน มีมากว่า 5,000 ปีแล้ว

การแพทย์จีนเป็นทรัพย์สมบัติอันล้ำค่าที่ควรศึกษาค้นคว้า และยกระดับให้สูงขึ้น นับตั้งแต่สาธารณรัฐประชาชน
จีนสถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1949 รัฐบาลจีนจึงได้รวบรวมทฤษฎีการแพทย์จีนสาขาต่างๆ อาทิเช่น การจับชีพจร การใช้ยาสมุนไพร
การปักเข็ม การกดจุด เป็นต้น ออกเผยแพร่สู้ประชาชน และได้จัดพิมพ์เป็นตำราขึ้น เพื่อให้แพทย์เท้าเปล่า (แพทย์ชนบท) นำ
ไปใช้รักษาชาวจีนทั่วประเทศ และให้แพทย์นำไปใช้รักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลร่วมกับการรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบันอีกด้วย
การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยของการแพทย์แผนจีน ได้อาศัยหลักทฤษฎีที่สำคัญ 4 ประการมาประกอบ คือ
1. การดู คือ การดูสี และลักษณะของลิ้น หน้า ตา และเล็บ เป็นต้น
2. การฟัง คือ การฟังเสียงพูด เสียงหายใจ เสียงไอฟังการบอกเล่าอาการต่างๆ เป็นต้น
3. การถาม คือ การถามอาการต่างๆจากคนไข้ ตลอดประวัติการเป็นอยู่ และอาชีพ เป็นต้น
4. การสัมผัส คือ การจับชีพจร ศีรษะ ท้อง หรืออวัยวะส่วนที่เจ็บป่วย เป็นต้น
เมื่อตรวจวินิจฉัยจนทราบสาเหตุแล้ว การรักษาก็จะใช้ดุลยพินิจวิเคราะห์ว่าจะรักษาด้วยยาสมุนไพร การปักเข็ม การกด
จุด (นวด) หรือด้วยวิธีอื่นๆ ขึ้นอยู่กับชนิด และอาการของโรคเป็นสำคัญ ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญในแต่ละด้านของแพทย์
ผู้นั้นด้วย
นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นแพทย์จีน ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้ทันต่อโรคภัยที่ได้เปลี่ยนแปลง และเกิดขึ้นใหม่เสมอ
ซึ่งโดยหลักการของการแพทย์แผนจีน เรื่องที่แพทย์จีนควรศึกษาเรียนรู้ มีดังนี้
1. ความรู้ด้านการสาธารณสุขศาสตร์
2. ความรู้ด้านกายวิภาค และสรีรวิทยา
3. ความรู้ด้านสมุฏฐานของโรค
4. ความรู้ด้านกลุ่มอาการ และลักษณะของโรค
5. ความรู้ด้านการใช้ยาสมุนไพรต่างๆ
ความรู้ทั้ง 5 ข้อนี้ ผู้ที่ต้องการศึกษาวิชาการแพทย์แผนจีนควรจะต้องเรียนรู้

ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านที่สนใจในวิชาการแพทย์แผนจีน คงจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยจากความรู้เล็กๆ
น้อยๆใน Website นี้ไปศึกษาค้นคว้าต่อ เพื่ออนุรักษ์สมบัติอันล้ำค่านี้ไว้เป็นมรดกแก่เยาวชนรุ่นหลังสืบไป


อาจารย์ เกรียงไกร เถลิงพล ( ลี )