foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
Welcome to Her Li Chuan

พลังทั้ง7ในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเฮอลีชวนเปรียบกับธาตุทั้ง 5


ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน ได้จัดพลังแต่ละชนิดเปรียบกับ ธาตุทั้ง 5 ไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการที่จะศึกษาเกี่ยวกับพลังทั้ง 7 และเห็นภาพลักษณ์ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย จึงได้เปรียบพลังทั้ง 7 เข้ากับ ธาตุทั้ง 5 ดังนี้

อิ้งลี่ (พลังธรรมดา Normal power) เปรียบกับ ธาตุดิน
อี้ลี่ (พลังสมาธิจิต Mind power) เปรียบกับ ธาตุทอง
เฉินลี่ (พลังแรงโน้มถ่วง Gravity power) เปรียบกับ ธาตุน้ำ
ถันลี่ (พลังสะท้อน Rebound power) เปรียบกับ ธาตุไม้
ฉี้ลี่ (พลังลมปราณ Respiration power) เปรียบกับ ธาตุไฟ

ส่วนพลังอีก 2 ชนิด ในวิชาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน ได้จัดให้เปรียบกับอากาศธาตุ ซึ่งนักปรัชญาจีน ไม่ได้กำหนดให้มีอากาศธาตุไว้ในแผนภูมิ ฉะนั้นใน เฮอลีชวน จึงจัดให้ช่องว่างในวงกลมของภาพแผนภูมิ คือ อากาศธาตุ ซึ่งเป็นธาตุที่ช่วยเสริมให้กับธาตุทั้ง 5 ทุกธาตุ และได้เปรียบพลังที่เหลือทั้ง 2 กับอากาศธาตุ ดังนี้ ไต้ลี่ (พลังเหนี่ยวนำ Inducement power) เปรียบกับ ธาตุลมเย็น(อากาศธาตุ)เสวียนลี่ (พลังอัตราความเร็ว Velocity power) เปรียบกับ ธาตุลมร้อน เมื่อพลังทั้ง 7 ได้เปรียบเข้ากับธาตุทั้ง 5 ซึ่งเป็นธาตุกำเนิด และธาตุปรปักษ์ จึงได้พลังกำเนิด และพลังปรปักษ์ ดังนี้

การกำเนิด หรือเสริมกันของพลังทั้ง 7
๐ อิ้งลี่ (พลังธรรมดา Normal power)
กำเนิด อี้ลี่ (พลังสมาธิจิต Mind power)
๐ อี้ลี่ (พลังสมาธิจิต Mind power)
กำเนิด เฉินลี่ (พลังโน้มถ่วง Gravity power)
๐ เฉินลี่ (พลังโน้มถ่วง Gravity power)
กำเนิด ถันลี่ (พลังสะท้อน Rebound power)
๐ ถันลี่ (พลังสะท้อน Rebound power)
กำเนิด ฉี้ลี่ (พลังลมปราณ Respiration power)
๐ ฉี้ลี่ (พลังลมปราณ Respiration power)
กำเนิด อิ้งลี่ (พลังธรรมดา Normal power)

การเป็นปรปักษ์ หรือขัดกันของพลังทั้ง 7
๐ อิ้งลี่ (พลังธรรมดา Normal power)
ปรปักษ์กับ เฉินลี่ (พลังโน้มถ่วง Gravity power)
๐ เฉินลี่ (พลังโน้มถ่วง Gravity power)
ปรปักษ์กับ ฉี้ลี่ (พลังลมปราณ Respiration power)
๐ ฉี้ลี่ (พลังลมปราณ Respiration power)
ปรปักษ์กับ อี้ลี่ (พลังสมาธิจิต Mind power)
๐ อี้ลี่ (พลังสมาธิจิต Mind power)
ปรปักษ์กับ ถันลี่ (พลังสะท้อน Rebound power)
๐ ถันลี่ (พลังสะท้อน Rebound)
ปรปักษ์กับ อิ้งลี่ (พลังธรรมดา Normal power)

สำหรับ ไต้ลี่ (พลังเหนี่ยวนำ Inducement power) และ เสวียนลี่ (พลังอัตราความเร็ว Velocity power) จะเป็นพลังเสริมให้กับพลังทุกชนิด และมีอิทธิพลคล้อยตามพลังนั้นๆ สุดแล้วแต่พลังนั้นจะเป็นพลังกำเนิด หรือพลังปรปักษ์ การศึกษาฝึกเรียนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ธาตุทั้ง 5 และ พลังทั้ง 7 เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการศึกษาฝึกเรียนต่อไป และเพื่อให้เข้าใจ รู้จริงในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน
ภาพแผนภูมิประกอบ


อาจารย์ เกรียงไกร เถลิงพล ( ลี )

              HER LI CHUAN FIGHTING คือ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบมวยจีน ซึ่งวิวัฒนาการ แลพัฒนามาจากศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบมวยจีนดั้งเดิม โดยนำเอาหลักการแพทย์ด้านกระดูก และข้อ โครงสร้างของร่างกายในการเคลื่อนไหว เพื่อการตอบโต้ และการปิดป้อง นำความรู้ที่ตั้งของอวัยวะภายใน และจุดต่างๆบนเส้นศูนย์ถ่วง ( MERIDIAN LINE ) ซึ่งเป็นทางเดินของโลหิต และพลังอิสระมาใช้ในการจู่โจมคู่ต่อสู้ และการป้องกัน นำเอาหลักกลศาสตร์ และพลศาสตร์ เพื่อการหยั่งรู้แนวแรง อีกทั้งการใช้พลังต่างๆในการโจมตี และป้องกัน ใช้หลักปรัชญา เพื่อการรู้ถึงธรรมชาติในการต่อสู้ และหลักการป้องกันตัว นำหลักการของสมาธิจิต เพื่อการกำหนดพลัง และรวบรวมพลังต่างๆใน
การต่อสู้ป้องกันตัว การใช้มิติของกาเวลา เพื่อการชิงจังหวะอย่างว่องไว ต่อเนื่อง และฉับพลัน

             HER LI CHUAN FIGHTING ซึ่งแปลว่าการรวมพลัง ความพร้อมเพรียง ความสัมพันธ์ในการต่อสู้ กล่าวคือ ลักษณะวิธีในการต่อสู้ป้องกันตัวของ HER LI CHUAN FIGHTING จะต้องรู้จักการรวมพลังต่างๆ ความสัมพันธ์ และความพร้อมเพรียงในการใช้มือ และเท้าพร้อมกันอย่างรุนแรงต่อเนื่อง อาทิ เช่น การป้องปัดพร้อมชก การชกพร้อมเตะ หรือการปัดพร้อมเตะในเวลาเดียวกัน เป็นต้น ท่าร่างต่างๆในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของ HER LI CHUAN FIGHTING จะถูกจัดให้ปกป้องแนวกึ่งกลางลำตัว ( CENTRE LINE ) การจู่โจม หรือการป้องกันมีทั้งความแข็งแกร่ง และอ่อนผ่อนตามแนวแรงของคู่ต่อสู้ อีกทั้งการรวมเอาพลังของคู่ต่อสู้กับพลังของตัวเราเพื่อทำลายคู่ต่อสู้อย่างรุนแรงฉับพลัน

                 ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2500 จนถึง พุทธศักราช 2515 นับได้ว่าเป็นช่วงที่ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเป็นที่นิยมมากที่สุด ในประเทศไทยได้มีศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแขนงต่างๆเข้ามาเผยแพร่มากมาย อาทิเช่น ยูโด คาราเต้ ยูยิสสู ไอคิโด  เทควันโด เฮปกิโด มวยไทย ไท่จี๊ฉวน จิ๊กกุนโด และยังมีศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบมวยจีนตระกูลต่างๆอีกมากมาย ซึ่งแต่ละแขนงวิชาต่างก็มีจุดด้อย และจุดเด่นอยู่ในตัว ทุกๆแขนงวิชาต่างก็ได้รับความนิยมเท่าเทียมกัน ได้มีการพัฒนา แก้ไข เปลี่ยนแปลงในแต่ละแขนงวิชาไปตามยุคตามสมัยเรื่อยมา ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน HER LI CHUAN FIGHTING เป็นอีกแขนงวิชาหนึ่ง ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในยุคนั้น และเป็นที่รู้จักในนาม หยินหยางฉวน ก็ได้รับการแก้ไขพัฒนาเรื่อยมา จนเป็นที่รู้จักในนาม เฮอลีชวน HER LI CHUAN FIGHTING ตราบจนปัจจุบัน
 


อาจารย์ เกรียงไกร เถลิงพล ( ลี )

พลังทั้ง 7 ในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน

ตั้งแต่โบราณกาลตราบจนทุกวันนี้ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบมวยจีนได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 สายหลัก คือ สายมวยแข็ง และสายมวยอ่อน 

สายมวยแข็ง (เว่ยเจียเฉวียน หรือ อิ้งซื่อเฉวียน) หมายถึง การต่อสู้ป้องกันตัวที่ใช้พละกำลังในรูปแบบที่เห็นได้อย่างเด่นชัด

สายมวยอ่อน (เน่ยเจียเฉวียน หรือ หย่วนซื่อเฉวียน) หมายถึง การต่อสู้ป้องกันตัวโดยใช้หลักกลศาสตร์ และพลศาสตร์ เป็นการต่อสู้ที่อาศัยหลักการหักเหแแรงไม่มีการปะทะโดยตรง ใช้จังหวะหลบหลีกหลอกล่อให้คู่ต่อสู้เสียหลัก จึงเข้าโจมตี

ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน HER LI CHUAN FIGHTING เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่มีทั้งอ่อนและแข็งอยู่ในตัว เป็นศิลปะฯที่ต้องอาศัยความว่องไว และความสัมพันธ์พร้อมเพรียงของมือ และเท้าในการป้องกันตอบโต้ และใช้สมาธิในการรวบรวมพลังที่มีอยู่ในตัวเราเพื่อการจู่โจมอย่างรุนแรง และฉับพลัน อีกทั้งอาศัยแนวแรงสัมพันธ์กับคู่ต่อสู้ เกาะติดการเคลื่อนไหวของคู่ต่อสู้ เพื่อให้คู่ต่อสู้เสียหลัก ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน จึงได้กำหนดพลังทั้งหมดออกเป็น 7 อย่าง ดังนี้

1. อิ้งลี่ (พลังธรรมดา Normal power) คือ พลังปกติทางกายภาพ เช่น พลัง หรือกำลังที่เราใช้ทำงาน ยกสิ่งของ เป็นต้น
2. อี้ลี่ (พลังสมาธิจิต Mind power) คือ พลังที่เกิดขึ้นจากการรวบรวมสมาธิ พลังนี้จะเห็นเด่นชัดในขณะที่มีความเชื่อมั่นในการกระทำสิ่งใดๆ
3. เฉินลี่ (พลังโน้มถ่วง Gravity power) คือ พลังที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง เป็นพลังธรรมชาติซึ่งเกิดจากแรงดึงดูดของโลก เช่น คนที่หมดสติจะมีน้ำหนักโน้มถ่วงมากกว่าคนที่รู้สึกตัว เป็นต้น
4. ถันลี่ (พลังสะท้อน Rebound power) คือ พลังที่เกิดจากการตอบสนองของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น หรือเกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นในการปะทะ หรือการชิงจังหวะปะทะ
5. ฉี้ลี่ (พลังลมปราณ Respiration power) คือ พลังแฝงที่อยู่ในร่างกายของคนเรา หรืออีกนัยหนึ่ง เรียกว่า พลังวิญญาณ พลังนี้จะเห็นได้จากการโมโหสุดขีด กลัว หรือตกใจสุดขีด
6. ไต้ลี่ (พลังเหนี่ยวนำ Inducement power) คือ พลังที่เกิดจากการสัมผัสเหนี่ยวนำตามแนวทิศทางของแรงนั้นๆ และเกาะติดตามแรง หรือเหนี่ยวนำแรงนั้นอย่างต่อเนื่อง
7. เสวียนลี่ (พลังอัตราความเร็ว Velocity power) คือ พลังที่เกิดจากการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง หรือการเคลื่อนไหวในลักษณะเป็นวงกลมให้เกิดแรงหมุน หรือแรงเหวี่ยง เป็นต้น

พลังทั้ง 7 อย่าง ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นหัวใจสำคัญของศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวนอย่างมาก ดังนั้น ผู้ที่ศึกษาวิชาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ และเข้าใจถึงแหล่งที่มาของพลังทั้ง 7 และสามารถนำมาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมในการต่อสู้ป้องกันตัว อีกทั้งยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย


อาจารย์ เกรียงไกร เถลิงพล ( ลี )

ธาตุทั้ง 5


หลายพันปีที่ผ่านมา นักปรัชญาจีน ฝ่ายธรรมชาติวิทยา หรือนักธรรมชาตินิยม ได้พยายามเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง และพบว่าปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของ ธรรมชาตินั้น ธรรมชาติได้ให้กำเนิดธรรมชาติด้วยกัน และในขณะเดียวกัน ยังสังเกตพบว่า ธรรมชาติเมื่อให้กำเนิดซึ่งกันและกันแล้ว ธรรมชาติยังทำลายซึ่งกันและกันอีกด้วย

ดังนั้น นักปรัชญาจีน ฝ่ายธรรมชาติวิทยา หรือนักธรรมชาตินิยม จึงได้กำหนดทฤษฎีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติขึ้น เรียกว่า ทฤษฎีธาตุกำเนิด หรือวัฏจักรการกำเนิดของธาตุทั้ง 5 และทฤษฎีธาตุปรปักษ์ หรือวัฏจักรการทำลายของธาตุทั้ง 5 ขึ้นดังนี้

              ธาตุดิน ให้กำเนิด ธาตุทอง (โลหะธาตุ หรือ แร่ธาตุ)
              ธาตุทอง ให้กำเนิด ธาตุน้ำ
              ธาตุน้ำ ให้กำเนิด ธาตุไม้
              ธาตุไม้ ให้กำเนิด ธาตุไฟ
              ธาตุไฟ ให้กำเนิด ธาตุดิน

เมื่อธรรมชาติให้กำเนิดธาตุดินขึ้นมาก็ทำให้เกิดแร่ธาตุขึ้นในดิน เมื่อกำเนิดแร่ธาตุในดินก็ทำให้เกิดแหล่งน้ำขึ้น เมื่อกำเนิดแหล่งน้ำขึ้นก็ทำให้เกิดความชุ่มชื่น ทำให้เกิดพืชหญ้า
และต้นไม้ต่างๆ เมื่อต้นไม้ต่างๆเกิดการสันดาบกันทำให้กำเนิดไฟขึ้น เมื่อไฟได้เผาไหม้ต้นไม้ต่างๆมอดจนเป็นเถ้าถ่าน เถ้าถ่านนั้นก็กลายเป็นดิน

               ธาตุดิน เป็นปรปักษ์ ธาตุน้ำ
               ธาตุน้ำ เป็นปรปักษ์ ธาตุไฟ
               ธาตุไฟ เป็นปรปักษ์ ธาตุทอง (โลหะธาตุ หรือ แร่ธาตุ )
               ธาตุทอง เป็นปรปักษ์ ธาตุไม้
               ธาตุไม้ เป็นปรปักษ์ ธาตุดิน

เมื่อธรรมชาติให้กำเนิดธาตุดิน ดินก็จะไปทับถมที่แหล่งน้ำ เมื่อธรรมชาติให้กำเนิดธาตุน้ำ น้ำก็จะดับไฟ เมื่อธรรมชาติให้กำเนิดธาตุไฟ ไฟก็จะไปหลอมเผาธาตุทอง เมื่อธรรมชาติให้กำเนิดธาตุทอง (โลหะ หรือ แร่ธาตุ )มากไปก็จะทำให้ต้นไม้ พืชหญ้าต่างๆเกิดขึ้นไม่ได้เพราะขาดดิน เมื่อธรรมชาติให้กำเนิดธาตุไม้ ต้นไม้ พืชหญ้าต่างๆก็จะไปทำลายดิน เพราะต้นไม้ พืชหญ้าต่างๆจะไปดูดเอาปุ๋ยและแร่ธาตุต่างๆจากดินทำให้ดินนั้นเสีย และยังไปแย่งที่ของดินอีกด้วย

วัฏจักรของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างมีระบบเช่นนี้ นักปรัชญาจีน จึงได้เขียนเป็นแผนภูมิ ดังนี้


 ภาพแผนภูมิ 1


ภาพแผนภูมิ 2

(ช่องว่างในวงกลมใหญ่ทั้งหมด คือ อากาศธาตุ เป็นตัวช่วยเสริมให้กับทุกๆธาตุ)
หมายเหตุ วงกลมวงใหญ่ และมีหัวลูกศรในภาพแผนภูมิบอกถึง ธาตุกำเนิดรูปดาวในวงกลม และมีหัวลูกศรในภาพแผนภูมิบอกถึง ธาตุปรปักษ์
 


                                     อาจารย์ เกรียงไกร เถลิงพล ( ลี )