foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
Welcome to Her Li Chuan

โภชนาการบำบัดของจีน
Chinese Diet Therapy

หลักโภชนาการเพื่อสุขภาพของชาวจีน ได้พัฒนาขึ้น
ตามหลักการแพทย์จีนแผนโบราณหรือการแพทย์แผนตะวันออก
และได้ประยุกต์ให้เข้ากับหลักการทางวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์
แผนตะวันตก เพื่อให้ชาวจีนได้มีหลักโภชนาการที่ดี และถูกต้อง
ได้สัดส่วนมากที่สุด สำหรับป้องกัน และบำบัดโรค ทำให้ชาวจีน
มีสุขภาพที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาว
ได้มีหลักฐานปรากฏในหนังสือ โจวหลี่ ว่า เมื่อ 523
ปีก่อน พ.ศ.287 ในสมัยราชวงศ์โจว ทางการได้แต่งตั้งแพทย์ และ
ขุนนางฝ่ายโภชนาการ และเภสัชประจำราชสำนักหลายตำแหน่ง
เพื่อทำหน้าที่ดูแลด้านอาหาร และยารักษาโรคภัย อีกทั้งให้มีการ
รวบรวมสมุนไพรทุกชนิด ตลอดจนการดูแลเรื่องการโภชนาการ
ของจักรพรรดิ์ในสมัยนั้น
ในสมัยจ้านกว๋อ พ.ศ.140-322 ถือเป็นยุคแรกสุดของการ
กำหนดวิธีหลักโภชนาบำบัด ได้มีบันทึกไว้ในตำรา หวงตี้เน่ยจิง ว่า
เบญจรส (อู่เม่ย) เป็นจุดกำเหนิดของหยิน หากอวัยวะทั้ง 5 ของหยิน
ไม่ได้รับเบญจรสที่สมดุล จะเกิดการพร่องของพลังหยิน กล่าวคือ
หากคนเราบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัดจนเกินไปจะทำให้พลังของ
กระดูก กล้ามเนื้อ และหัวใจต้องสูญเสียไป ถ้าบริโภคอาหารที่มีรส
เปรี้ยวจนเกินขนาดไปพลังของตับ และม้ามก็จะบกพร่องไป บริโภค
อาหารที่มีรสหวานเกินขนาดไปทำให้ระบบการหายใจผิดปกติ และ
ไตจะขาดความสมดุล การบริโภคอาหารมีรสขมมากเกินไปจะทำ
ให้พลังของม้าม และกระเพาะขาดความสมดุล และถ้าหากบริโภค
อาหารที่มีรสเผ็ดจัดมากเกินขนาดจะทำให้เส้นเอ็น และเส้นโลหิต
อ่อนแอ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตไม่ยืนยาว ด้วยเหตุนี้จึงควร
บริโภคอาหารที่มีเบญจรสให้สมดุล เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และมีชีวิต
ที่ยืนยาว
แพทย์จีนเชื่อว่า ร่างกายของมนุษย์เรานั้นมีความสัมพันธ์
กับธรรมชาติ อาหารได้เชื่อมมนุษย์ให้เข้ากับธรรมชาติอย่างเหนียว
แน่น มนุษย์อาศัยอาหารช่วยหล่อเลี้ยงร่างกาย ทำให้ร่างกายมีพลัง
หยินและหยาง อีกทั้งพลังของโลหิตมีความสัมพันธ์กับอวัยวะภาย
ในทั้ง 5 อย่างสมดุล
ดร.ซุนยัดเซ็นได้กล่าวไว้ว่า " ชาวจีนควรอนุรักษ์รูป
แบบโภชนาการของตนไว้ เพราะชาวจีนไม่เพียงแต่ค้นพบสูตร
การปรุงอาหารมากมาย แต่ชาวจีนยังมีวิธีการปรุงอาหารได้อร่อย
ซึ่งชนชาติอื่นยากที่จะเปรียบได้ อีกทั้งหลักการบริโภคอาหารของ
ชาวจีนก็ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก น้ำ
ชาเป็นเครื่องดื่มหลักของชาวจีน อาหารหลักของชาวจีน คือ ข้าว
ผัก และเต้าหู้ ซึ่งนักโภชนาการชาวต่างชาติได้วิเคราะห์แล้วว่าเป็น
อาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างยิ่ง ชาวจีนที่อยู่ในชนบทอัน
ทุรกันดาร มีฐานะที่ยากจนนั้นไม่เคยดื่มสุรา ไม่มีเนื้อสัตว์สำหรับ
บริโภค แต่กลับมีอายุที่ยืนยาว " เพราะชาวจีนในชนบทเอาถั่วเหลือง
มาทำเต้าหู้บริโภคแทนเนื้อสัตว์ ซึ่งเต้าหู้นั้นมีสารอาหารเหมือนเนื้อ
สัตว์ แต่ไม่ให้โทษเหมือนเนื้อสัตว์
เนื่องจากยาสมุนไพร และอาหารได้พัฒนาไปพร้อมกัน
การใช้อาหารเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อบำรุงร่างกายหรือการบำบัด
รักษานั้นคงเป็นไปไม่ได้ แพทย์จีนจึงมีวิธีจัดหลักโภชนาการดังนี้
1. การจัดอาหารที่มีรสและธาตุจำพวกเดียวกันเข้าด้วย
กัน เพื่อเสริมประสิทธิภาพ
2. การจัดแบบมีตัวหลักและตัวเสริม เพื่อให้อาหารหลัก
มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. การจัดแบบใช้อาหารตัวหนึ่งไปลดผลข้างเคียงของ
อีกตัวหนึ่ง เป็นต้น
หลี่สือเจิน แพทย์จีนสมัยราชวงศ์หมิง ได้กล่าวไว้ว่า
" อาหารเป็นเส้นชีวิตของมนุษย์ " การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับทุกคน ไม่ว่าผู้นั้นจะมีสภาพร่างกายที่
แข็งแรง หรืออ่อนแอก็ตาม
ตำราหลักการโภชนาการทั้งหมดนี้มีขอบข่ายการป้อง
กันและการบำบัดโรคที่กว้างขวางและหลากหลายครอบคลุมทั้ง
ทางอายุรกรรม ศัลยกรรม สูตินารีเวช โรคของเด็ก โรคเกี่ยวกับ
กระดูก และตา หู คอ จมูก เป็นต้น อีกทั้งยังสัมพันธ์ครอบคลุมถึง
ทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักการเมือง นักการทหาร
นักการภารโรง หรือนักกีฬา เป็นต้น
การต่อสู้ป้องกันตัวก็เป็นอีกสาขาวิชาหนึ่งที่จะต้อง
เรียนรู้ถึงหลักโภชนาการอย่างยิ่ง โภชนาการเพื่อบำรุงสุขภาพ
และการบำบัดรักษาให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรค
ภัย จึงมีธาตุกำเนิดทั้ง 5 ที่สมดุล คือ มีเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก
พลังภายใน และจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแกร่ง สามารถฝึกฝนวิชาการ
ต่อสู้ป้องกันตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล
ในสมัยที่ข้าฯกำลังฝึกฝนวิชาการต่อสู้ป้องกันตัว
(มวยจีน) อยู่นั้น อากง อาม่า ได้บังคับให้ข้ฯรับประทานอาหารที่
มีส่วนผสมของยาจีนอยู่ด้วย อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง ท่าน
ทั้งสองบอกว่า อาหารที่ให้ข้าฯรับประทานนั้น จะทำให้มีร่างกาย
ที่แข้งแรง มีพลัง (ชี่) มากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงด้วยข้าวหนียว
อย่างเช่น ข้าวเหนียวห่วยซัวน้ำขิง ผมรับประทานอย่างน้อยอาทิตย์
ละไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง แต่ละครั้งก็รับประทานกันวันนั้นทั้ง 3 มื้อ ทำ
เอาเบื่อจนเห็นข้าวเหนียวแถบจะวิ่งหนี อากง บอกข้าฯว่า ผู้ที่ฝึก
มวยจีน เขานิยมรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยยาจีน อย่างข้าวเหนียว
ห่วยซัวน้ำขิงนี้ ขิงและข้าวเหนียวช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก บำรุง
พลัง (ชี่) ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และห่วยซัวช่วยระบบขับถ่าย ใน
บางครั้ง ท่านยังเพิ่ม เก๋ากี้ และหงู่ฉิก เพื่อบำรุงไตอีกด้วย
บทความโภชนาการบำบัดนี้ บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไม
ใช้คำทับศัพท์ภาษาจีนที่สับสน ข้าฯขอเรียนให้ทราบว่า คำทั่วไปจะ
ใช้เป็นภาษาจีนกลาง แต่หากเป็นชื่อยาจะใช้คำทับศัพท์เป็นภาษา
แต้จิ๋ว เพราะว่าผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม และอ่านบทความนี้ส่วนมากจะเป็น
คนไทย หากชื่อยาใช้ภาษาจีนกลาง ร้านยาจีนซึ่งมีอยู่มากในประเทศ
ไทย ผู้ขายจะเกิดความสับสน อาจทำให้เกิดการจ่ายตัวยาผิดได้
ข้าฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลักโภชนาการบำบัดนี้ คงมี
ประโยชน์ต่อทุกท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชม Web site นี้